Teacher's Profile







ชื่อ : นายเชษฐา เถาวัลย์
ชื่อเล่น : ซอ
วันเกิด : ๒๗ ตุลาคม ๒๕๒๖
ที่อยู่ : ๖๘ หมู่ที่ ๗ ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ๙๑๑๔๐
อาชีพ : รับราชการครู 
โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ จังหวัดสตูล

MyProfile






ชื่อ : นางสาว ปฏิณญา แสงบำรุง
ชื่อเล่น : ฟ้า
เกิดวันที่ 19 เดือน กันยายน พ.ศ.2539
อายุ : 17 ปี
E-mail : hys.huhu@gmail.com
Facebook : ฟ้า' ไดอาน่า
Line : soharuhuhu
กำลังศึกษาอยู่ที่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายศิลป์-จีน โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ จังหวัดสตูล

เปลี่ยนขยะ ให้เป็นเงิน





การนำวัสดุเหลือใช้จากขยะมูลฝอยกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์ จะช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยที่จะต้องกำจัด ในขณะเดียวกันก็เป็นการสงวนทรัพยากรธรรมชาติไว้ได้อีกส่วนหนึ่ง ด้วยการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหลือใช้ อาจใช้วิธีหมุนเวียนวัสดุ หรือแปรสภาพขยะมูลฝอยให้เป็นพลังงานวัสดุหลายอย่างในขยะมูลฝอยที่อาจนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก เช่น กระดาษ แก้ว ขวด พลาสติก เหล็กและโลหะอื่นๆ การคัดเลือกวัสดุต่างๆ ที่รวมอยู่ในขยะมูลฝอย เพื่อนำกลับไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้อีก นับได้ว่า มีการปฏิบัติกันมาช้านาน จะเห็นได้ว่า ตามกองขยะมูลฝอยทุกแห่ง มีบุคคลกลุ่มหนึ่งไปคอยคุ้ยเขี่ยเก็บวัสดุจากกองขยะมูลฝอยตลอดเวลา เพื่อหารายได้


















ขยะที่ถูกแปรรูปแล้ว












นำขยะมาสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะ













ขยะถูกนำมาทำเป็นดอกไม้สวยงาม










คนงานกำลังแปรรูปขยะ











ขยะนำมาทำเป็นของเล่นสร้างรายได้มากมาย


ธนาคารขยะ




   ขยะรีไซเคิล คือขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยนำไปผ่านกระบวนการแปรรูปในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่ปะปนกับขยะมูลฝอยที่เราสร้างขึ้น สามารถแบ่งประเภทได้เป็น กระดาษ แก้ว พลาสติก โลหะ และอโลหะ ซึ่งเราสามารถคัดแยกและนำกลับมาใช้ได้อีกครั้งหนึ่ง โดยขยะแต่ละประเภทสามารถแยกย่อยได้มากมาย
         ธนาคารขยะรีไซเคิล คือ รูปแบบหนึ่งในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริม การคัดแยกขยะมูลฝอย โดยเริ่มต้นที่เยาวชนและชุมชนเป็นหลัก และใช้โรงเรียนเป็นสถานที่ดำเนินการ เพื่อให้เยาวชนและชุมชนเกิดความเข้าใจในการคัดแยกขยะมูลฝอย
      หลักการของธนาคารขยะรีไซเคิล คือให้นักเรียนสมัครเป็นสมาชิกของธนาคารขยะฯ และนำขยะมาฝากที่ธนาคาร โดยมีเจ้าหน้าที่ของธนาคาร ทำการคัดแยกและชั่งน้ำหนักขยะและคำนวนเป็นเงิน แล้วบันทึกลงสมุดคู่ฝาก โดยใช้ราคาที่ทางโรงเรียน ประสานกับร้านรับซื้อของเก่า เป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคา รายได้ของกิจกรรมมาจากผลต่าง ของราคาที่คณะทำงานของโรงเรียนกำหนด กับราคาที่สามารถขายให้กับร้านรับซื้อของเก่า ซึ่งต้องมีการหักรายจ่ายอื่นๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ ติดต่อ ประสานงาน ซึ่งรายได้สามารถใช้เป็นทุนหมุนเวียน และจัดตั้งเป็นกองทุน เพื่อใช้เป็นทุนการศึกษา
วัตถุประสงค์
     - เพื่อให้เยาวชนมีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ และรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนและชุมชน
  - เป็นการช่วยลดปริมาณขยะ และส่งเสริมความรู้ให้แก่เยาวชนในเรื่องการคัดแยกขยะ ที่ถูกต้องและเหมาะสม
    - เพื่อนำผลพลอยได้จากการตั้งธนาคารขยะ มาตั้งกองทุนสนับสนุนการศึกษาของเยาวชน
    - เพื่อเป็นการสร้างรูปแบบการจัดการขยะ โดยเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการดำเนินงาน

อุปกรณ์
    -เครื่องชั่ง
    -สถานที่เก็บรวบรวมวัสดุรีไซเคิล
    - สมุดคู่ฝากและเอกสารบัญชี







ขยะรีไซเคิล


การรีไซเคิลหรือการแปรรูปใช้ใหม่ คือ การนำขยะรีไซเคิลมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
ตัวอย่างขยะรีไซเคิล
แก้ว  สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้





1. ขวดแก้วดี จะถูกนำมาคัดแยกชนิด สี และประเภทที่บรรจุสินค้า ได้แก่ ขวดแม่โขง ขวดน้ำปลา ขวดเบียร์ ขวดซอส ขวดโซดาวันเวย์ ขวดน้ำดื่มชูกำลัง ขวดยา ขวดน้ำอัดลม ฯลฯ การจัดการขวดเหล่านี้หากไม่แตกบิ่นเสียหาย จะถูกนำกลับเข้าโรงงานเพื่อนำไปล้างให้สะอาดและนำกลับมาใช้ใหม่เรียกว่า “Reuse”
2. ขวดแก้วแตก ขวดที่แตกหักบิ่นชำรุดเสียหายจะถูกนำมาคัดแยกสี ได้แก่ ขวดแก้วใส ขวดแก้วสีชา และขวดแก้วสีเขียว จากนั้นนำเศษแก้วมาผ่านกระบวนการรีไซเคิล โดยเบื้องต้นจะเริ่มแยกเศษแก้วออกมาตามสีของ เอาฝาจุกที่ติดมากับปากขวดออกแล้วบดให้ละเอียด ใส่น้ำยากัดสีเพื่อกัดสีที่ติดมากับขวดแก้ว ล้างให้สะอาดแล้วนำส่งโรงงานผลิตขวดแก้ว เพื่อนำไปหลอมใหม่


ตัวอย่างแก้วที่นำมารีไซเคิล
ขวดแม่โขงกลม/แบน
ขวดแบล็ค-เลเบิ้ล
ขวดแบล็คแคท
ขวดแสงทิพย์กลม/แบน
ขวดเบียรื์ช้าง/สิงห์
ขวดเครื่องดื่มชูกำลัง
ขวดเบียร์สิงห์
ขวดน้ำปลา
ขวดน้ำส้มสายชู
ขวดมิดไวด์ต้า
ขวดน้ำอัดลมเล็ก/ใหญ่
ขวดโซดาสิงห์
ขวดโซดาวันเวย์
เศษแก้วแดง (สีชา)
เศษแก้วเขียว
เศษแก้วขาวใส/ขาวขุ่น
ขวดแบนเล็ก/ใหญ่
ขวดยาฆ่าแมลงเล็ก/ใหญ่
ขวดไวน์
ขวดยาปอนด์
ขวดเล็กชั่ง


กระดาษ   เป็นวัสดุที่ย่อยง่ายที่สุด เพราะผลิตจากเยื่อไม้ธรรมชาติ โดยปกติกระดาษจะมีระยะเวลาย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ประมาณ 2-5 เดือน แต่ถ้าถูกทับถมอยู่ในกองขยะจนแน่นไม่มีแสงแดด อากาศและความชื้น สำหรับจุลินทรีย์ในการย่อยสลาย ก็อาจต้องใช้เวลาถึง 50 ปีในการย่อยสลาย ดังนั้นเราจึงควรแยกขยะที่เป็นเศษกระดาษเหล่านี้ออกจากขยะชนิดอื่น ๆ เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและนำไปรีไซเคิลเป็นกระดาษนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
พลาสติก แบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท ดังนี้





1. พลาสติกที่คงรูปถาวรหรือพลาสติกเทอร์โมเซท (Thermosetting Plastic) เป็นพลาสติกที่แข็งตัวด้วยความร้อนแบบไม่ย้อนกลับ สามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์รูปทรงต่าง ๆ ได้โดยทำให้แข็งตัวด้วยความร้อนในแม่แบบ และเมื่อแข็งตัวแล้วจะมีความคงรูปสูงมาก เนื่องจากไม่สามารถหลอมเหลวได้อีก พลาสติกในกลุ่มนี้จึงจัดเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภท รีไซเคิลไม่ได้
2. พลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หรือเทอร์โมพลาสติก (Thermosetting) เป็นพลาสติกที่หลอมตัวด้วยความร้อน และกลับแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง พลาสติกชนิดนี้จัดเป็นวัสดุประเภท รีไซเคิลได้เพื่อให้ง่ายต่อการแยกชนิดบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อนำกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ได้มีการนำสัญลักษณ์มาใช้บนบรรจุภัณฑ์อย่างแพร่หลาย 



วิธีการลดปริมานขยะ




1. การลดปริมาณของขยะพลาสติก โดยการสิ่งของที่ซื้อมาใส่ในถุงเดียวกัน หรือถ้าจะให้ดีควรจะมีถุงผ้า หรือตะกร้าติดมือไปด้วยสำหรับใช้ในการจับจ่ายซื้อของ วิธีการนี้จะทำให้เราลดปริมาณขยะพลาสติกลงได้เป็นจำนวนมาก

2. การพยายามใช้ขยะให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น ขวดน้ำสามารถใช้บรรจุน้ำดื่มไว้ดื่มกินได้ครั้งแล้วครั้งเล่า ใช้ขวดน้ำพลาสติกทำระบบน้ำหยดรดน้ำต้นไม้ ใช้กระป๋องเครื่องดื่มทำสิ่งของชำร่วย ใช้บัตรโทรศัพท์ทำเป็นของที่ระลึก เก็บถุงพลาสติกที่สภาพดีเอาไว้ใช้จนกว่าจะขาดและใช้การไม่ได้ นำเศษกระดาษมาทำเป็นวัสดุคลุมดิน ใช้เศษลังทำของเล่นให้เด็กๆ ใช้กระดาษพิมพ์หรือเขียนทั้งสองหน้า หรือวิธีการอื่น ๆ ที่สร้างสรรค์ และสามารถลดปริมาณขยะลงได้

3. การทำปุ๋ยหมักจากขยะ เช่น ทำปุ๋ยหมักจากเศษขยะธรรมชาติ เช่นเศษอาหาร เศษผัก เศษเปลือกผลไม้ เศษใบไม้ เศษหญ้าแห้ง และอินทรีย์วัตถุอื่น ๆ นำมาหมักในภาชนะ ในกอง ในกะบะ หรือทำเป็นหลุมก็ได้ ซึ่งการทำก็ไม่ยุ่งยาก ปุ๋ยหมักมีประโยชน์ต่อการปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้พืชผักที่ปลูกงอกงามดี และลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในการซื้อปุ๋ยและผัก


4. การแยกขยะดีไว้ต่างหากเพื่อนำไปขาย โดยเฉพาะขยะที่ใช้ใหม่ได้ และขยะที่นำไปใช้เปลี่ยนรูปได้ (Reuse และ Recycle) เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กระป๋อง เหล็ก กระดาษ ลังกระดาษ กล่องนม กล่องน้ำผลไม้ และอลูมิเนียม เป็นต้น ขยะประเภทนี้ถ้าทิ้งไปเฉย ๆ ก็จะไม่เกิดประโยชน์ แต่กลับจะเพิ่มปัญหาด้านการกำจัด และเป็นอันตรายต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการแยกขยะเหล่านี้ไว้ต่างหากจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก และควรกระทำในทุกชุมชน ในปัจจุบันมีร้านรับซื้อของเก่าจำนวนมากและส่วนมากจะรับซื้อของเก่าแทบทุกชนิดในราคาที่แตกต่างกัน

สถานการณ์ขยะ



การผลิตขยะของแต่ละภูมิภาคทั่วโลก



สัดส่วนขยะของแต่ละภูมิภาคทั่วโลกเปรียบเทียบกับสัดส่วนของขยะมูลฝอยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก





สถานการณ์ขยะของประเทศไทย

ปัญหาจากขยะมูลฝอย


1. เกิดมลภาวะ (Pollution) - ขยะมูลฝอยที่ไม่ได้กำจัดให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล หรือปล่อยทิ้งไว้ ทำให้ชุมชนเสื่อมเสียภาวะที่ดีไป (Pollution) เช่น เกิดน้ำเสีย, ดินถูกปนเปื้อน และ อากาศเป็นพิษ เป็นต้น


2. เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สะสมของเชื้อโรคและแมลง (Breeding Places) - ขยะมูลฝอยที่ไม่ได้กำจัดให้หมดสิ้นไปหรือถูกปล่อยปละละเลย หรือไม่กำจัดให้ถูกต้อง จะเป็นแหล่งอาหาร, ที่อยู่อาศัยของหนู, สัตว์แทะต่าง ๆ หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงซึ่งจะเป็นพาหะนำโรคติดต่อต่าง ๆ มายังมนุษย์ได้


3. การเสี่ยงต่อสุขภาพ (Health Risk) - ชุมชนที่ไม่ได้กำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล จะทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น โรคของระบบทางเดินอาหาร, โรคของระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น


4. สูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Loss) - การกำจัดขยะที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้อง หรือทิ้งขยะมูลฝอยลงในแม่น้ำ, ลำคลอง หรือแหล่งน้ำสาธารณะ จะเกิดผลกระทบต่อแหล่งน้ำทำให้น้ำเน่าเสีย ทำให้ปลาตาย หรือสัตว์น้ำอื่น ๆ ตาย นอกจากนี้ชุมชนยังขาดน้ำเพื่อการบริโภคและอุปโภค จำเป็นหาน้ำสะอาดใช้ทำให้สิ้นเปลืองเงินทองโดยใช่เหตุ หรือไม่สามารถจับสัตว์น้ำได้เนื่องจากจำนวนสัตว์น้ำลดลง ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย ทำให้สูญเสียรายได้ทางด้านเศรษฐกิจ



5. เป็นเหตุแห่งความรำคาญ (Public Nuisances) - ขยะมูลฝอยที่ไม่ได้ทำการกำจัดให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ หรือปล่อยทิ้งไว้ในที่สาธารณะ เมื่อปริมาณของขยะมูลฝอยทับถมมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น จะเกิดการเน่าเปื่อยซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนตามมา


6. ชุมชนขาดความสง่างาม (Esthetics) - ชุมชนที่ไม่มีการกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล เช่นปล่อยขยะมูลฝอยทิ้งไว้ข้างถนน, ในสวนสาธารณะหรือข้างตึกแถว นานวันเข้าจะทำให้เกิดทัศนียภาพที่ไม่สวยงาม, ไม่น่าดู, ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน















ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อสภาวะแวดล้อม






ขยะมูลฝอยนั้น  นับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของประชากร  ถ้าหากไม่มีการกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว  ปัญหาความสกปรกต่าง ๆ  ที่เกิดจากขยะมูลฝอย  จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน  ถ้ามองกันอย่างผิวเผินแล้ว  ขยะมูลฝอยนั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อมนุษย์มากนัก  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อมนุษย์  ยังอยู่ในขั้นที่ไม่รุนแรงมากนัก  ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงไม่ชัดเจนเท่าไร  แต่ในความเป็นจริงแล้ว  ขยะมูลฝอยจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก และจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ด้วย  ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม  ทั้งนี้เนื่องจาก
1.  ขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรค  เช่น  แมลงวันแมลงสาบ  ยุง  ฯลฯ  และเป็นที่ซุกซ่อนของหนูและสัตว์อื่น ๆ
2.  ขยะมูลฝอย  ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิดความรำคาญ
3.  ขยะมูลฝอยที่ทิ้งเกลื่อนกลาด  ถูกลมพัดกระจัดกระจายไปตกอยู่ตามพื้น  ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นสกปรก  ขาดความสวยงาม  เป็นที่รังเกียจแก่ผู้พบเห็น และผู้ที่อาศัยบริเวณใกล้เคียง  นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่ตกอยู่หรือถูกทิ้งลงในคูคลอง หรือทางระบายน้ำ  จะไปสกัดกั้นการไหลของน้ำ  ทำให้แหล่งน้ำสกปรกและเกิดการเน่าเสีย
4.  น้ำเสียที่เกิดจากกองขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้  เป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมาก  ซึ่งมีทั้งสารอินทรีย์  สารอนินทรีย์  เชื้อโรค และสารพิษต่าง ๆ  เจือปนอยู่  เมื่อน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลไปตามพื้นดินบริเวณใด  ก็จะทำให้บริเวณนั้นเกิดความสกปรกและความเสื่อมโทรมของพื้นดินและอาจเปลี่ยนสภาพ  ทำให้ดินมีคุณสมบัติเป็นดินด่างหรือดินกรดได้  ในกรณีที่น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลลงสู่แหล่งน้ำก็จะทำให้คุณภาพน้ำเสียไป  ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำผิวดินหรือแหล่งน้ำใต้ดินก็ตาม  ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้ใช้น้ำและสิ่งที่มีชีวิตที่อาศัยในแหล่งน้ำ  น้ำที่สกปรกมากหรือมีสารพิษเจือปนอยู่  ก็อาจทำให้สัตว์น้ำตายในเวลาอันสั้น  นอกจากนั้นสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่เจือปนในน้ำ  ก็จะส่งผลต่อระบบนิเวศของน้ำทำให้สัตว์น้ำที่มีค่าบางชนิดสูญพันธุ์ไป นอกจากนี้น้ำที่มีสิ่งสกปรกเจือปนย่อมไม่เหมาะแก่การอุปโภคบริโภค  แม้จะนำไปปรับปรุงคุณภาพแล้วก็ตาม  เช่น  การทำระบบน้ำประปา  ซึ่งก็ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำมากขึ้น


5.  ขยะมูลฝอยทำให้เกิดมลพิษแก่อากาศ  ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ในเขตชุมชน หรือที่กองทิ้งไว้ในแหล่งกำจัดซึ่งไม่มีการฝังกลบ หรือขณะที่ทำการเก็บขนโดยพาหนะที่ไม่มีการปกปิดอย่างมิดชิด  ขยะมูลฝอยเหล่านั้นส่งกลิ่นเหม็นน่ารังเกียจออกมา  เศษชิ้นส่วนของขยะมูลฝอยจะสามารถปลิวไปในอากาศ  ทำให้เกิดความสกปรกแก่บรรยากาศ  ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์และความสกปรกให้กับบริเวณข้างเคียงได้นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้นาน ๆ  จะมีก๊าซที่เกิดจากการหมักขึ้น  ได้แก่  ก๊าซชีวภาพ  ซึ่งติดไฟหรือเกิดระเบิดขึ้นได้ และก๊าซไข่เน่า (ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์)  ซึ่งมีกลิ่นเหม็น








ประเภทของขยะ


ขยะโดยทั่ว ๆ ไป มี ประเภทหลัก ๆ คือ

        1. ขยะที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ (Reuse และ Recycle) เช่น ขวดน้ำพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋องเครื่องดื่ม และกระดาษลัง เป็นต้น การนำมาใช้ประโยชน์อาจจะอยู่ในรูปของการนำมาใช้ใหม่ (Reuse) เช่น ถุงพลาสติก เก็บไว้ใช้ห่อหิ้วสิ่งของต่าง ๆ ขวดสุรา ขวดเบียร์ และขวดเครื่องดื่มก็นำมาใช้บรรจุใหม่ได้ นอกจากนั้นการใช้ประโยชน์ในรูปของการเปลี่ยนรูป (Recycle) เช่น ขวดพลาสติก กระป๋องเครื่องดื่ม สามารถนำไปหลอมใหม่แล้วนำมาเป็นผลิตภัณฑ์บรรจุได้อีก เป็นต้น


        2. ขยะธรรมชาติ (Compost)  ขยะชนิดนี้ส่วนมากแล้วเกิดจากสิ่งของจากธรรมชาติ เช่น เปลือกผลไม้ เศษผัก เศษใบไม้ และเศษอาหารต่าง ๆ ขี้เลื่อย แกลบ เป็นต้น ขยะชนิดนี้สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ฉะนั้นจึงทำปุ๋ยหมักจากขยะประเภทนี้ได้ดี

        3. ขยะที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ขยะเหล่านี้นอกจากใช้ประโยชน์ไม่ได้แล้วยังมีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยสลาย เช่น พลาสติกจะใช้เวลามากกว่า200 ปีในการย่อยสลาย โฟมอาจจะไม่มีการย่อยสลายเลย ดังนั้นจึงเป็นปัญหาในการกำจัด ไม่ว่าจะเป็นการฝังกลบ หรือเผา เพราะจะต้องใช้พื้นที่มาก และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของผู้คนหากมีการกำจัดที่ไม่ถูกวิธี






การกำจัดขยะมูลฝอย

เริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวม  การขนย้ายไปยังโรงงานและการทำลายขยะมูลฝอย เมื่อเรารวบรวมขยะมูลฝอยทิ้ง  ควรแยกให้เป็นประเภท  เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการเก็บและทำลาย  เศษแก้ว  เศษกระจก และของมีคมต่าง ๆ  ควรแยกต่างหาก  ไม่ทิ้งปะปนกับขยะมูลฝอยอื่น ๆ   เพราะอาจจะบาดหรือตำผู้อื่นได้  เราควรเก็บขยะมูลฝอยใส่ถุงและผูกปากถุงให้เรียบร้อย  ใส่ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด  เพื่อป้องกันสุนัขคุ้ยเขี่ย
การขนย้ายได้รับการปรับปรุงขึ้นมาก  ตามเมืองใหญ่และในเขตเทศบาล  จะมีรถไปเก็บขยะมูลฝอยถึงบ้าน  ในบางเขตจะมีถังรองรับขยะมูลฝอยตั้งไว้ริมถนน หรือตามบริเวณที่มีขยะมูลฝอยมาก  เช่น  ตามโรงเรียน  ตลาด  ศูนย์การค้า  ฯลฯ  เราควรผูกปากถุงให้เรียบร้อย  แล้วขนไปใส่ลงในถังรองรับที่จัดตั้งไว้ตามจุดต่าง ๆ  เมื่อถังเต็มจะมีรถมาขนไปยังโรงงานเพื่อทำลายต่อไป

การกำจัดขยะมูลฝอย  มีหลายวิธี  เช่น  การเผากลางแจ้ง  การเทกองบนพื้นดิน  การนำไปทิ้งทะเล  แต่วิธีการเหล่านี้ไม่ถูกต้อง  เพราะทำให้เกิดภาวะมลพิษต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของมนุษย์  ตัวอย่างเช่น  การเผากลางแจ้ง  ทำให้เกิดควันและฝุ่นละอองในอากาศ วิธีกำจัดที่ถูกต้อง คือ การเผาในเตาเผาขยะ  การฝังกลบ  การหมักทำปุ๋ย และการแปรสภาพเป็นพลังงาน















ขยะมูลฝอย





ในเมืองใหญ่  เราจะเห็นบางถนนสะอาด  มีกระถางดอกไม้  ต้นไม้เรียงรายอยู่ข้างทาง  แต่บางถนนสกปรก  มีถุงใส่เศษอาหาร  เปลือกผลไม้  ตกทิ้งอยู่กลาดเกลื่อน  ถ้าเราเดินทางไปทางเรือ  เราจะเห็นแม่น้ำลำคลองบางตอนใสสะอาด  มีปลาว่ายไปมาในน้ำ  บางตอนสกปรก  มีขยะมูลฝอยลอยอยู่ทั่วไป  น้ำมีสีดำ  ส่งกลิ่นเน่าเหม็น  เป็นที่น่ารังเกียจ
เศษอาหาร  ถุงพลาสติกที่ใช้แล้ว  เศษผ้า  ใบไม้ร่วง  เรียกรวมว่า  ขยะมูลฝอย  ถ้าไม่ทิ้งให้เป็นที่เป็นทาง  จะสร้างความสกปรก  ขยะมูลฝอยที่กองอยู่บนดิน  เช่น  จำพวกเศษอาหาร  นอกจากจะส่งกลิ่นเหม็นแล้ว  ยังเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงวันและหนู  เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรา  ขยะมูลฝอยที่ทิ้งลงในแม่น้ำลำคลอง  จะแพร่เชื้อโรคลงในน้ำ  ถ้าผู้ที่อาศัยอยู่ริมน้ำ  ใช้น้ำนั้นดื่มหรืออาบ  อาจจะเป็นโรคท้องร่วงหรือโรคผิวหนังได้ ดังนั้นเราทุกคนจึงควรช่วยกันรักษาความสะอาด  ไม่ทิ้งขยะมูลฝอยเกลื่อนกลาด  ถ้าเป็นขยะมูลฝอยในบ้าน  ควรรวบรวมใส่ถุง  เพื่อส่งให้รถเก็บขยะต่อไป

เราสามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้โดยการขุดหลุมฝัง  เผาไฟ หรือขายต่อ ขยะมูลฝอยจำพวกเศษอาหาร  อาจใช้วิธีขุดหลุมฝังใกล้โคนต้นไม้  แล้วกลบด้วยดิน  เศษอาหารจะเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยต่อไปขยะมูลฝอยที่ติดไฟได้  เช่น  เศษกระดาษ  ใบไม้แห้ง  อาจใช้วิธีเผาไฟ ขยะมูลฝอยบางจำพวกที่ยังมีประโยชน์  เช่น  กระดาษหนังสือพิมพ์  ขวดแก้วที่ไม่แตกหรือของใช้พลาสติกต่าง ๆ  อาจรวบรวมไว้ขายได้

ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา  มีของที่หมดประโยชน์ใช้สอย  หมดคุณภาพหรือชำรุดแตกหักมากมาย  สิ่งของทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นวัสดุชิ้นเล็ก ๆ  เช่น  เศษกระดาษ  เศษอาหาร  เศษผ้า  แก้วแตก  หลอดไฟที่เสียแล้ว หรือวัสดุชิ้นใหญ่ ๆ  เช่น  โต๊ะ  เก้าอี้ที่ชำรุดหักพัง  พัดลมหรือตู้เย็นที่เสียใช้การไม่ได้  เรียกว่า  ขยะมูลฝอย  ทั้งสิ้น  เราพบขยะมูลฝอยได้ตามบ้านเรือนที่พักอาศัย  ร้านค้า  ตลาด  โรงเรียน  โรงพยาบาล  ตามท้องถนน และในแม่น้ำลำคลองทั่วไป  ขยะมูลฝอยเหล่านี้  ถ้าทิ้งกระจัดกระจาย  ไม่เป็นที่เป็นทาง  จะทำให้บ้านเมืองสกปรกไม่เป็นระเบียบ  ขยะมูลฝอยที่บูดเน่านอกจากจะส่งกลิ่นเหม็น  รบกวนผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคต่าง ๆ อีกด้วย

    

    ขยะมูลฝอยแยกออกเป็น 5 ประเภท  ได้แก่ 
            1.  เศษอาหารและพืชผัก  ที่เหลือจากการรับประทานและการประกอบอาหาร
            2.  เศษแก้วแตก  กระเบื้องแตก  เศษวัสดุก่อสร้าง  เช่น  ไม้  อิฐ  หิน และอื่น ๆ
            3.  วัสดุชิ้นใหญ่  เช่น  รถจักรยานพัง หรือเครื่องไฟฟ้าที่ใช้การไม่ได้  ฯลฯ
            4.  วัสดุที่มีสารพิษ  เช่น  หลอดไฟ  หลอดนีออน  แบตเตอรี่ที่ใช้การไม่ได้  วัสดุติดเชื้อ
ต่าง ๆ  เช่น  ขยะมูลฝอยที่เก็บได้จากโรงพยาบาล และวัสดุสารเคมีจากโรงงาน  เป็นต้น
            5.  วัสดุที่ยังมีสภาพดี  เช่น  กระดาษหนังสือพิมพ์  กล่องกระดาษ  ขวดที่ไม่แตก        ขยะมูลฝอยประเภทนี้  อาจนำไปขายต่อได้












        "รอมฎอน" เดือนแห่งการถือศีลอดของ                                   "ชาวมุสลิม"  





         รอมะฎอน (อาหรับ: رمضان‎) การสะกดอื่นๆ รอมดอน รอมาดอน รอมะดอน รอมฎอน คือเดือนที่ 9       ของปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ หรือปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เดือนบวช และถือว่าเป็นเดือนที่สำคัญที่สุดเดือนหนึ่ง มุสลิมจะต้องอดอาหารเพื่อที่จะได้มีความรู้สึกถึงคนที่ไม่ได้รับการดูแลจากสังคม เช่น คนยากจน เป็นต้น และเดือนนี้ยังเป็นเดือนที่อัลกรุอานได้ถูกประทานลงมาเป็นทางนำให้กับมนุษย์ มุสลิมจึงต้องอ่านอัลกุรอาน เพื่อศึกษาถึงสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้มนุษย์รู้ว่าการเป็นอยู่ในโลกนี้และโลกหน้าจะเป้นอย่างไร และจะต้องทำตัวอย่างไรบ้าง กิจกรรมพิเศษของมุสลิมนิกายซุนนะหฺคือการละหมาดตะรอเวียะฮฺในยามค่ำของเดือนนี้

        การถือศีลอดเป็นมุขบัญญัติ 1 ใน 5 ของอิสลาม หรือที่มุสลิมเรียกว่ารุก่นอิสลาม ศีลอด หรือที่เรียกว่า "การถือบวช" ตามการเรียกที่คนไทยนิยมเรียกกัน เป็นศีลคล้ายๆ ศีล 5 ของพี่น้องชาวพุทธ แต่ศีลของอิสลามนั้นไม่ปฏิบัติไม่ได้ มุสลิมทุกคนที่บรรลุศาสนภาวะแล้วจำเป็น (วายิบ) ต้องปฏิบัติศีลข้อนี้โดยเคร่งครัด ยกเว้นคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย คนชรา หญิงมีครรภ์ เด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ คนเดินทาง เหล่านี้ยกเว้น การถือศีลอด นั้นก็หมายความว่า บังคับกับผู้ที่มีความสามารถเท่านั้น




          ในหนึ่งปีจะมีการถือศีลอดบังคับนี้เพียงหนึ่งเดือนคือเดือนรอมฎอน เดือนในอิสลามนับทางจันทรคติ ค่ำจึงมาก่อนวัน และเป็นไปตามข้อเท็จจริง กล่าวคือตะวันลับขอบฟ้าคือค่ำ ตรงกับวันอะไรก็เป็นค่ำคืนของวันนั้น หนึ่งเดือนจะมี 29 กับ 30 วัน

         ฉะนั้นการกำหนดเดือนจึงอาศัยการดูดวงจันทร์เป็นสำคัญ การเห็นจันทร์เสี้ยวแรกนั้นหมายถึงค่ำนั้นเป็นค่ำของวันใหม่และขึ้นเดือนใหม่ด้วย ปัจจุบันความรู้ทางดาราศาสตร์ก้าวหน้ามาก เราสามารถคำนวนการมีของจันทร์เสี้ยวได้อย่างแม่นยำ การดูจันทร์เสี้ยวจึงกำหนดองค์ศาและมุมได้อย่างชัดเจน เมื่อมีการคำนวนอายุของดวงจันทร์ กำหนดมุมและองค์ศาได้ การดูจึงไม่ยากอีกต่อไป

         การถือศีลอดเริ่มตั้งแต่รุ่งอรุณ (ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น) ไปจนถึงดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ตลอดช่วงกลางวัน ผู้ที่ถือศีลอดจะกินหรือดื่มสิ่งใดๆ ไม่ได้เลย ยกเว้นน้ำลาย จะเป็นน้ำสักหยดก็ไม่ได้ ฟังดูแล้วเป็นเรื่องยากมากๆ เพราะเราแค่อดข้าวมื้อเดียวก็ดูเหมือนจะไม่ไหวเสียแล้ว มีคำถามว่าทำไมมุสลิมอดได้ ถ้าจะตอบแบบไม่ต้องให้ถามต่อ ก็ตอบว่า"เพราะศรัทธา"

          มีมุสลิมไม่ถือศีลอดหรือไม่ ? ตอบว่า "มี" ถ้าไม่ถือศีลอดด้วยข้อยกเว้น ก็ไม่ใช่ปัญหา บางท่านก็อดไม่ได้ อาจจะด้วยศรัทธาหย่อนยาน เบาความนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าท่านไม่ถือศีลอดด้วยเหตุใดก็ตาม ในช่วงเดือนรอมฎอน ศาสนาก็ไม่อนุญาตให้ท่านมาเดินกินดื่มโชว์ชาวบ้านเขา ถ้าเป็นประเทศที่ใช้กฎหมายอิสลาม คนนี้ถูกจับแน่ๆ อย่างเช่น ประเทศไทยถ้าใช้กฎหมายพุทธ คนดื่มเหล้าถูกจับแน่นอน

          สมมุติเบดูอินไปกินข้าวจนอิ่ม นึกขึ้นได้ว่า กำลังถือศีลอด อย่างนี้เสียหรือไม่ ก็ตอบว่าไม่เสีย แต่ต้องหยุดกินทันที การกระทำที่ไร้สติ หลงลืม ไม่มีเจตนา ไม่ถือเป็นความผิด แต่ไม่ใช่แกล้งลืม

          การถือศีลอด ไม่ได้หมายความว่า ไม่กิน ไม่ดื่มเท่านั้น แต่หมายถึงการงดเว้น ในอบายมุขทุกประเภท ถือศีลอดแต่นั่งนินทาชาวบ้าน อันนี้ผิดการถือศิลอดเขามีปัญหาแน่ ฉะนั้น การมีเพศสัมพันธ์ การลักขโมย ฯลฯ เป็นสิ่งต้องห้าม เป้าหมายของการถือศีลอดนั้น พระผู้เป็นเจ้า อัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) ได้กล่าวไว้ในพระมหาคัมภีร์ว่า "เพื่อให้เกิดความยำเกรง" จึงสรุปได้ว่า หากมุสลิมไม่ถือศีลอด ด้วยกับไม่มีเหตุจำเป็น นั้นหมายความว่า มุสลิมคนนั้นไม่มีความยำเกรงต่อพระเจ้าเลย

           เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอ่าน ได้ถูกประทานลงมาเป็นครั้งแรก ซึ่งคัมภีร์นี้มุสลิมถือว่าเป็นพระดำรัสของพระเจ้า (กาลามุลลอฮ์) มิใช่เป็นคำของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) และในค่ำคืนหนึ่งในเดือนรอมฎอนเป็นค่ำคืนแห่งเกียรติยศ (ลัยละตุลก็อดรฺ) ที่หากทำความดีตรงกับคืนนั้นจะมีความดีเท่ากับได้ทำเป็นพันเดือน (หรือประมาณ 80 ปีกว่า) การทำความดีอาสา (สุนัต) ได้ผลบุญเท่ากับทำความดีภาคบังคับ (ฟัรดู) ฉะนั้นเดือนนี้ศาสนาจึงสนับสนุนให้ทำความดี บริจาคทาน ช่วยเหลือคนยากจน ขัดสน เด็กกำพร้า หญิงหม้าย คนที่ด้อยกว่า





          นอกจากนี้การอ่านพระมหาคัมภีร์ ก็ยังเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ เราจึงเห็นมุสลิมโดยทั่วไปจะอ่านคัมภีร์ เรื่องการอ่านคัมภีร์นี้เป็นสิ่งที่จำเป็น คนมุสลิมแม้จะแปลคัมภีร์ไม่ได้แต่จะอ่านคัมภีร์ได้เป็นส่วนมาก เด็กๆทุกคนจะมีการเรียนการสอนในเรื่องนี้ที่เรียกว่าฟัดูอีนหรือตาดีกา ในภาคใต้ ฉะนั้นมุสลิมเกือบทุกคนจะอ่านพระคัมภีร์ได้

           นี่คือความสำคัญของเดือนนี้ นี่คือคำตอบว่าทำไมมุสลิมจึงให้ความสำคัญกับเดือนนี้มาก ความจริงเมื่อถึงเดือนรอมฎอน มุสลิมทุกคนน่าจะหลีกหนี ไม่อยากให้เดือนนี้มาถึงเพราะต้องอด แต่ตรงกันข้ามมุสลิมทุกคนกลับรอคอยเดือนนี้ด้วยความยินดี จะสังเกตุว่าในชุมชนมุสลิมจะคึกคัก ค่ำคืนจะสว่างไสว ในมัสยิด (สุเหร่า) จะมีคนมาทำความดี (อิบาดะฮ์) กันอย่างมากมาย ดึกดื่น
แต่ว่าวิถีชีวิตก็เป็นไปตามปกติ ใครทำงานอะไรก็ทำอย่างนั้น มิใช่ว่าพอถือศีลอดแล้ว นั่งงอมืองอเท้า ไม่ทำมาหากิน อย่างนี้ก็ถือว่าผิด

            การถือศีลอดได้ฝึกและสอนให้มีความอดทน มีเมตตา เห็นอกเห็นใจ คนยากจนหิวโหย ความหิวที่เกิดจากการถือศิลอดจะทำให้ระลึกถึงคนยากจนที่หิวโหย เมื่อก่อนที่เราอิ่มเราจะนึกถึงคนที่หิวไม่ได้ว่ามันทรมานอย่างไร แต่เมื่อเราได้อดอย่างนี้เราจะเข้าใจได้ทันทีว่า คนที่หิวนั้นทรมานเช่นไร ?

            ท่านศาสดากล่าวว่า "ท่านจงถือศีลอด แล้วท่านจะสุขภาพดี" มีแพทย์หลายท่านได้ทำการวิจัยในเรื่องนี้ ยอมรับว่าการที่ร่างกายได้หยุดพักแบบจริงๆ อย่างนี้ทำให้โรคบางอย่างหายไป ร่างกายได้มีโอกาสซ่อมแซม เฉกเช่นเครื่องยนต์ที่เดินเครื่องมาตลอดไม่เคยหยุดพักเลย ได้หยุดเสียบ้างก็จะดี การหยุดไม่กินไม่ดื่มเลยจริงๆ ทำให้กระเพราะอาหารได้พักผ่อน โรคบางโรคหายได้เช่นโรคกระเพาะอาหาร

            คนเรากินอาหาร 3 มื้อก็จริง แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วกินตลอดวัน กระเพาะอาหารต้องทำงานตลอดเวลา เป็นต้นเหตุให้ร่างกายเกิดโรคสารพัด อย่างในปัจจุบัน การหยุดกินเสียบ้างก็จะทำให้ร่างกายได้พักผ่อน

             เมื่อสิ้นเดือนรอมะฎอนแล้ว จะมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 1 เดือนเชาวาล เรียกว่า อีดุลฟิฏริหรือ วันอีดเล็ก

             ในปี พ.ศ.2549 เดือนรอมะฎอน (ฮ.ศ.1427) เริ่มเมื่อวันที่ 23 กันยายน (ซาอุดีอาระเบีย, อ่าวเปอร์เซีย และบางส่วนของในตะวันออกกลาง) และวันที่ 24 กันยายน ในที่อื่นๆ (รวมทั้งส่วนอื่นๆ ของตะวันออกกลาง) โดยมีกำหนดถึงวันที่ 23 ตุลาคม

ที่มาจากบทความจาก   http://www.neutron.rmutphysics.com/teaching-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=8854&Itemid=17





 

ํYoutube : http://www.youtube.com/watch?v=XUwldwPXENY